โครงงาน Battery charger by switching power supply and control charger by Arduino board
หลักการทำงานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
สวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายโดยทั่วไปมีองค์ประกอบพื้นฐานที่คล้ายคลึงกันและไม่ซับซ้อนมากนักดังแสดงในรูปที่ 1 หัวใจสำคัญของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจะอยู่ที่คอนเวอร์เตอร์ เนื่องจากทำหน้าที่ทั้งลดทอนแรงดันและคงค่าแรงดันเอาต์พุตด้วย องค์ประกอบต่างๆ ทำงานตามลำดับดังนี้
รูปที่ 1 องค์ประกอบพื้นฐานของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
1. วงจรกรองความถี่ (Filter) และวงจรเรียงกระแส (Rectifier)
1.1 วงจรกรองความถี่ (Filter)
วงจรกรองความถีหรือฟิลเตอร์ (Filter) คือวงจรไฟฟ้าที่ยอมให้สัญญาณไฟฟ้าที่ความถี่ใดๆ ความถี่หนึ่งหรือช่วงความถี่ใดความถี่หนึ่งเท่านั้นผ่านไปได้ส่วนความถี่อื่นหรือช่วงความถี่อื่นๆ นอกเหนือจากที่กำหนดจะถูกลดทอนไปซึ่งจะเป็นช่วงความถี่ใดนั้นจะขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจร
วงจรกรองสัญญาณความถี่ต่ำ (Low Pass Filter : LPF) หมายถึง วงจรที่ยอมให้สัญญาณความถี่ตั้งแต่ 0 เฮิร์ต ถึงความถี่ที่กำหนดผ่านไปได้ส่วนความถี่ตั้งแต่ที่กำหนดสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จะลดทอนไปตามลำดับลักษณะของวงจรมีตั้งแต่อันดับหนึ่งขึ้นไป ดังรูป
รูปที่ 2 วงจร Low Pass Filter LC 2nd Order
รูปที่ 3 วงจรกรองสัญญาณความถี่ต่ำอันดับต่างๆและกราฟแสดงอัตราขยายแรงดันเชิงความถี่ (db)
1.2 วงจรเรียงกระแส (Rectifier)
ไดโอด (Diode) เป็นอุปกรณ์สารกึ่งตัวนำที่มีคุณสมบัติยอมให้กระแสไหลผ่านได้เพียงทิศทางเดียวจากขั้วแอโนด (Anode: A) ซึ่งมีศักย์เป็นบวกไปยังขั้วแคโทด (Cathode : K) ซึ่งมีศักดิ์เป็นลบ เมื่อได้รับไบอัสแบบฟอร์เวิร์ด (Forward Bias) แต่ถ้าไดโอดได้รับไบอัสแบบตรงกันข้าม หรือรีเวิร์ส (Reverse Bias) ไดโอดจะไม่ยอมให้กระแสไหลผ่าน ดังนั้นไดโอดจึงถูกนำไปใช้ในวงจรเรียงกระแสหรือวงจรเร็กติไฟร์ (Rectifier Circuit) ซึ่งจะทำหน้าที่ในการเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Voltage) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC Voltage) ซึ่งมีอยู่ 2 แบบคือ การเปลี่ยนไฟฟ้ากระแสสลับให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรงแบบครึ่งคลื่นหรือแบบฮาล์ฟเวฟ (Half wave) และแบบเต็มคลื่นหรือฟูลเวฟ (Full wave)
วงจรเรียงกระแส (Rectifier Circuit) หมายถึง วงจรที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Voltage) ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC Voltage)
- วงจรเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่น (Hafe-wave Rectifier Circuit)
- วงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น (Full wave Rectifier Circuit)
- วงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์ (Bridge Rectifier Circuit)
วงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น (Full Wave) อีกแบบหนึ่ง คือวงจรเรียงกระแสแบบบริดจ์แรงดันไฟสลับจะต่อเข้าที่ สองมุมของวงจรบริดจ์และเอาต์พุตจะถูกนำออกที่สองมุมที่เหลือ ดังในรูปที่ 3
รูปที่ 4 วงจรเรียงกระแสแบบเต็มคลื่น (Full Wave)
ลบจึงเหมือนกับครึ่งไซเคิลลบถูกป้อนเข้าทางขดปฐมภูมิของหม้อแปลง ไดโอด D2 และ D3 จะอยู่ในลักษณะไบอัสตรงดังนั้นกระแสจึงไหลครบวงจรจากขั้ว A ผ่านไดโอด D2 ความต้านทานโหลดและไดโอด D3 แล้วกลับเข้าสู่ขั้ว B ของหม้อแปลง ดังรูปและเมื่อแรงดันไฟสลับเปลี่ยนข้างมาเป็นขั้วบวก ที่ขั้ว B และเป็นลบที่ขั้ว Aการนำกระแสของไดโอดจะเปลี่ยนไปโดยเริ่มจากจุด B ของขดทุติยภูมิ ผ่าน D4 ความต้านทานโหลด และ D1 กลับเข้าขั้ว A ของหม้อแปลง ทิศทางแรงดันตกคร่อมโหลดจะมีทิศทางเดียวกับตอนแรกคือ มีขั้วบวกอยู่ทางด้านบน ดังนั้นกานำกระแสไดโอดจะเกิดสลับกันทีละสองตัว D2 กับ D3 และ D1 กับ D4
1.3 ตัวเก็บประจุกรองแรงดัน
การเลือกชนิดและขนาดของตัวเก็บประจุกรองแรงดันอินพุตเป็นเรื่องที่สำคัญเพราะอาจจะส่งผลโดยตรงกับค่ากระเพื่อม (ripple) ของแรงดันอินพุตได้โดยทั่งไปตัวเก็บประจุที่ใช้มักจะเป็นตัวเก็บประจุชนิด อิเล็กโทรไลติก (Electrolytic) แบบคุณภาพสูงสามารถทนกระแสการกระเพื่อมได้สูงและค่าความต้านทานอนุกรมเสมือนต่ำ (ESR) ต่ำโดยที่ขนาดแรงดันขนาดไม่น้อยกว่า 200 Vdc และต่อตัวต้านทานขนานกับตัวเก็บประจุเพื่อใช้สำหรับการคายประจุเมื่อแหล่งจ่ายไฟไม่ได้ใช้งาน
คอนเวอร์เตอร์นับว่าเป็นส่วนสำคัญที่สุดในสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย มีหน้าที่ลดทอนแรงดันไฟตรงค่าสูงลงมาเป็นแรงดันไฟตรงค่าต่ำ และสามารถคงค่าแรงดันได้ คอนเวอร์เตอร์มีหลายแบบขึ้นอยู่กับลักษณะการจัดวงจรภายใน โดยคอนเวอร์เตอร์แต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันออกไป การจะเลือกใช้คอนเวอร์เตอร์แบบใดสำหรับสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายนั้นมีข้อควรพิจารณาจากลักษณะพื้นฐานของคอนเวอร์เตอร์แต่ละแบบดังนี้คือ
- ค่าแรงดันอินพุตที่จะนำมาใช้กับคอนเวอร์เตอร์
- ค่ากระแสสูงสุดที่ไหลผ่านเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในคอนเวอร์เตอร์ขณะทำงาน
- ค่าแรงดันสูงสุดที่ตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในคอนเวอร์เตอร์ขณะทำงาน
- การรักษาระดับแรงดันในกรณีที่คอนเวอร์เตอร์มีเอาต์พุตหลายค่าแรงดัน
- การกำเนิดสัญญาณรบกวน RFI/EMI ของคอนเวอร์เตอร์
คอนเวอร์เตอร์ที่นิยมใช้เป็นในอุตสาหกรรมของสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย คือ
2.1 ฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ (Flyback converter)
ฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์เป็นคอนเวอร์เตอร์ที่ให้กำลังงานได้ไม่สูงนัก โดยอยู่ในช่วงไม่เกิน 150 วัตตุ และให้ค่าสัญญาณรบกวน RFI/EMI ค่อนข้างสูง แต่ใช้อุปกรณ์น้อยและมีราคาถูก
2.2 ฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ (Forward converter)
ฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ให้กำลังงานได้ในช่วงเดียวกับฟลายแบคคอนเวอร์เตอร์ (ในช่วง 100 - 200 วัตต์) แต่กระแสที่ได้จะมีการกระเพื่อมต่ำกว่า อย่างไรก็ตาม ตัวอุปกรณ์ที่เพิ่มเข้ามาจะให้มีราคาสูงกว่า
2.3 พุช-พูลคอนเวอร์เตอร์ (Push-Pull converter)
การทำงานของพุช-พูลคอนเวอร์เตอร์ เปรียบเสมือนการนำฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์สองชุดมาทำงานร่วมกัน โดยผลัดกันทำงานในแต่ละครึ่งคาบเวลาในลักษณะกลับเฟส ทำให้จ่ายกำลังได้สูง เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในวงจรยังคงมีแรงดันตกคร่อมในขณะหยุดนำกระแสค่อนข้างสูงเช่นเดียวกับฟลายแบคและฟอร์เวิร์ดคอนเวอร์เตอร์ รวมทั้งปัญหาการเกิดฟลักซ์ไม่สมมาตรในแกนเฟอร์ไรต็ของวงจรทำให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์พังเสียหายง่าย พุช-พูลคอนเวอร์เตอร์เป็นพื้นฐานของÎาล์ฟบริดจ์ และฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ซึ่งมีการทำงานคล้ายกัน แต่มีข้อบกพร่องน้อยกว่า
2.4 ฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ (Full-Bridge converter)
ฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ ขณะทำงานจะมีแรงดันตกคร่อมขดไพรมารีเท่ากับแรงดันอินพุต แต่แรงดันตกคร่อมเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์มีค่าเพียงครึ่งหนึ่งของแรงดันอินพุตเท่านั้น และค่ากระแสสูงสุดที่เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์แต่ละตัวนั้น มีค่าเป็นครึ่งหนึ่งของค่ากระแสสูงสุดในÎาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ที่กำลังขาออกเท่ากัน เนื่องจากข้อจำกัดด้านเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ลดน้อยลงไป กำลังงานสูงสุดที่ได้จากฟูลบริดจ์คอนเวอร์เตอร์จึงมีค่าสูง ตั้งแต่ 500 - 1000 วัตต์
3. ฮาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์ (Half-Bridge converter)
ฮาลฟ์บริดจ์คอนเวอร์เตอร์จัดอยู่ในตระกูลเดียวกับพุชพูลคอนเวอร์เตอร์ แต่ลักษณะการจัดวงจรจะทำให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ในวงจรมีแรงดันตกคร่อมขณะหยุดนำกระแสเพียงค่าแรงดันอินพุตเท่านั้น ทำให้เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ที่ใช้มีราคาถูก และหาได้ง่ายกว่า และลดข้อจำกัดเมื่อใช้กับระบบแรงดันไฟสูงได้มาก รวมทั้งยังไม่มีปัญหาการไม่สมมาตรของฟลักซ์ในแกนเฟอร์ไรต์ของหม้อแปลงได้ด้วย และกำลังงานสูงสุดที่ได้จากฮาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์จึงมีค่าสูงตั้งแต่ 500 - 1000 วัตต์
การทำงานของฮาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์
รูปที่ 5 วงจรพื้นฐานของฮาล์ฟบริดจ์คอนเวอร์เตอร์
จากรูปที่ 5 C1 และ C2 ต่ออนุกรมกันจึงทำให้แรงดันที่เก็บประจุไว้ที่ C1 , C2 มีค่าเท่ากันและเป็น
ครึ่งหนึ่งของ Vin การทำงานของวงจรจะควบคุมให้ Q1 และ Q2 สลับกันทำงาน กล่าวคือ เมื่อให้Q1 ทำงานจะมีกระแสไฟฟ้าไหลจาก C1 เข้า Q1 ผ่านขดลวด้านไพรมารี่ Np และ C2 จะเก็บประจุไว้ เมื่อให้ Q2 ทำงานจะทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลจาก C2 เข้า Np ผ่าน Q2 และ C1 จะเก็บประจุไว้จากผลการทำงานดังกล่าวจะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำกำลังไฟฟ้าไปยังขด Ns1 และ Ns2 เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ แล้วเข้าวงจรชุด Rectifiler และ Filter เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงต่อไป ตัวเก็บประจุ Cb (Blocking Capacitor) ต่อเข้าวงจรเพื่อชดเชยให้ได้รูปคลื่นสัญญาณแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ ให้มีความสมดุลระหว่างแรงดันไฟฟ้าด้านบวก และด้านลบ
4. พัลส์วิธมอดูเลชั่น (Pulse Width Modulation, PWM)
ลักษณะของการทำงาน (PWM) โดยทั่วไปมีอยู่ 3 ลักษณะ คือ
4.1 เปลี่ยนแปลงทั่งความถี่และความกว้างพัลล์ (Variation of both frequency and pulse with)
4.2 เปลี่ยนแปลงความถี่ โดยความกว้างพัลล์คงที่ (Constant pulse width variable frequency)
4.3 เปลี่ยนแปลงความกว้างพัลล์ โดยความถี่คงที่ (Constant frequency variable pulse with)
การทำงานทั้ง 3 ลักษณะนี้มีข้อดีและข้อเสียต่างกันไป การทำงานลักษณะที่ 2 และลักษณะที่ 3 จะ
ดีกว่าการทำงานในลักษณะที่ 1เนื่องจากสามารถกำหนดความถี่หรือช่วงเวลา time on ที่จะทำให้สวิตชิ่งทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดได้ แต่แบบที่ 1 นั้นความถี่และความกว้างของพัลล์กำหนดขึ้นเองจากวงจร จึงอาจจะไม่ใช้ความถี่ที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการทำงานก็ได้ ดังนั้นวงจรส่วนใหญ่จึงใช้การทำงานลักษณะที่สองหรือลักษณะที่ 3 เป็นส่วนใหญ่
5. วงจรขับกระแสไบอัส
ไบโพลาร์เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ต้องการกระตุ้นการทำงานโดยการให้กระแสไบอัสที่ขา
เบส เพื่อให้นำกระแสและหยุดนำกระแสได้ และเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการลดประจุสะสมที่เกิดขึ้นในเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ขณะนำกระแส จะขึ้นอยู่กับลักษณะของกระแสไบแอสที่ให้กับเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ดังนั้นการจัดวงจรขับกระแสไบแอสที่ถูกต้องจะช่วยลดกำลังงานสูญเสียให้กับเพาเวอร์ทรานซิสเตอร์ได้เช่นกัน
วงจรขับกระแสไบแอสนั้นโดยทั่วไปจะทำได้ใน 2 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ วงจรขับกระแสไบแอสด้วย
กระแสคงที่ (Fixed Base Drive) และวงจรขับกระแสไบแอสด้วยกระแสเบสเป็นสัดส่วนกับกระแสคอลเล็กเตอร์ (Proportional Base Drive) สำหรับคอนเวอร์เตอร์โดยทั่วไปที่ใช้ไบโพลาร์เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์และมีกำลังต่ำกว่า 500 วัตต์ มักนิยมใช้วงจรขับกระแสไปแอสด้วยกระแสคงที่ โดยวงจรขับกระแสจะให้กระแสเบสที่มีค่าคงที่ด้วยค่ากระแสที่มากพอที่จะทำให้ทรานซิสเตอร์นำกระแสที่จุดอิ่มตัวอยู่ตลอดเวลา แต่วิธีนี้จะให้ค่าประจุสะสมในทรานซิสเตอร์ขณะนำกระแสค่อนข้างสูง และใช้เวลานานในการหยุดนำกระแส ในขณะที่วงจรขับกระแสไบแอสด้วยสัดส่วนนั้น ค่ากระแสไบแอสที่ขาเบสจะขึ้นอยู่กับค่าของกระแสที่ไหลผ่านคอลเล็กเตอร์ประจุสะสมจะเกิดขึ้นน้อย การหยุดนำกระแสจะเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว แต่วงจรค่อยข้างยุ่งยากมากมาย จึงมักนิยมใช้กับคอนเวอร์เตอร์ที่มีกำลังวัตต์สูงๆ เท่านั้น
การขับเพาเวอร์มอสเฟทให้นำกระแสนั้นต่างจากการขับกระแสไปแอสในไบโพลาร์เพาเวอร์
ทรานซิสเตอร์ เนื่องจากมีเงื่อนไขการไปแอสที่แตกต่างกัน สำหรับไบโพลาร์ทรานซิสเตอร์กระแสจะไหลผ่านคอลเล็กเตอร์และอิมิเตอร์ได้ก็ต่อเมื่อ มีกระแสไบแอสไหลผ่านที่เบสและอิมิเตอร์แต่เพาเวอร์มอสเฟทจะมีกระแสไหลผ่านเดรนและซอร์สได้ก็ต่อเมื่อ แรงดันตกคร่อมที่ขาเกตและซอร์สมีค่าอย่างต่ำเท่ากับค่าแรงดันขีดเริ่ม (Threshold Voltage) ของมันแต่ใช้กระแสต่ำ การขับเพาเวอร์มอสเฟทให้นำกระแสจึงทำได้ง่าย และยุ่งยากน้อยกว่าไบโพลาร์เพาเวอร์ทรานซิสเตอร์มาก วงจรขับเพาเวอร์มอสเฟท เช่น วงจรขับเพาเวอร์มอสเฟทด้วย TTL วงจรขับเพาเวอร์มอสเฟทด้วย CMOS และ วงจรขับเพาเวอร์มอสเฟทด้วยหม้อแปลง เป็นต้น
6. หม้อแปลงสวิตชิ่ง
หม้อแปลงสวิตชิ่ง (Switching Transformer) จัดเป็นอุปกรณ์สำคัญสำหรับสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลาย
ผู้ออกแบบสวิตชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายจึงจำเป็นต้องศึกษารูปแบบที่เป็นไปได้ในลักษณะต่างๆ ของหม้อแปลงสวิตชิ่ง ความเหมาะสมในการใช้งาน การคำนวณขนาดแกนเฟอร์ไรต์และขนาดลวดทองแดงรวมทั้งการกำหนดความปลอดภัยทางไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัยและลดกำลังงานสูญเสียในหม้อแปลงสวิตชิ่งขณะทำงาน
6.1 ส่วนประกอบของหม้อแปลงสวิตชิ่ง
หม้อแปลงสวิตชิ่งมีหน้าที่หลักในการลดทอนแรงดันไฟตรงที่อินพุตของคอนเวอร์เตอร์ซึ่งอาจมีค่าสูงได้
ถึง 310 โวลต์ ให้มีค่าลดลงเป็นแรงดันไฟค่าต่ำที่เอาท์พุท และทำให้เกิดการแยกจากกันทางไฟฟ้าระหว่างแรงดันอินพุทและแรงดันเอาท์พุทที่ได้เพื่อป้องกันอันตรายจากการถูกไฟฟ้าดูด ส่วนประกอบสำคัญของหม้อแปลงสวิตชิ่งโดยมีรายละเอียดดังนี้
6.2 แกนเฟอร์ไรต์ (Ferrite Core)
เฟอร์ไรต์เป็นวัสดุประเภทเฟอร์โรแมกเนติก ( Ferromagnetic material ) การเหนี่ยวนำแม่เหล็กบน
แกนเฟอร์ไรต์จะมีผลทำให้เกิดความหนาแน่นฟลักซ์แม่เหล็กสูงกว่าการเหนี่ยวนำแม่เหล็กที่เกิดขึ้นในช่องอากาศมาก เฟอร์ไรต์มีค่าจุดอิ่มตัวฟลักซ์แม่เหล็กค่อนข้างสูง ประมาณในช่วง 3,000 ถึง 4,000 เกาส์ และเกิดการสูญเสียในตัวต่ำที่ความถี่สูงๆ ดังนั้นหม้อแปลงสวิตชิ่งจึงนิยมใช้แกนเป็นเฟอร์ไรต์มากที่สุด เฟอร์ไรต์ที่นำมาใช้ทำแกนหม้อแปลงสวิตชิ่งจะมีรูปร่างแตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับการใช้งานและมาตรฐานในการออกแบบ
6.3 บอบบิ้น (Bobbin)
บอบบิ้นหรือแบบรองพัน ปกติจะทำมาจากพลาสติกชนิดทนความร้อนได้สูงและไม่ติดไฟ บอบบิ้นจะ
ช่วยให้การพันขดลวดบนแกนเฟอร์ไรต์สะดวกขึ้น และป้องกันปัญหาการลัดวงจรระหว่างขดลวดกับแกนเฟอร์ไรต์ได้ บอบบิ้นจะมีขนาดตามมาตรฐานของแกนเฟอร์ไรต์ บอบบิ้นส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้มีขาพักลวดทองแดง เพื่อความสะดวกในการพันขดลวดและบัดกรีติดกับแผงวงจร
6.4 ลวดทองแดงอาบน้ำยา (Enamelled Copper Wire)
การพันขดลวดทั้งไพรมารีและเซคั่นดารี่ของหม้อแปลงสวิตชิ่งที่กำลังไม่สูงมากนัก ปกติจะใช้
ลวดทองแดงอาบน้ำยาพันบนแกนบอบบิ้นเพื่อให้ได้จำนวนรอบตามต้องการ ขนาดลวดทองแดงที่จะใช้พันนั้นขึ้นอยู่กับค่ากระแสสูงสุดที่ผ่านขดลวด ความถี่และผลข้างเคียงอื่นๆ ซึ่งจะได้กล่าวรายเอียดในหัวข้อถัดไป
6.5 เทปฉนวน (Insulation Tape)
เทปฉนวนใช้พันสำหรับเป็นตัวรองระว่างชั้นของขดลวดในหม้อแปลงสวิตชิ่ง และมีหน้าที่สำคัญใน
การแยกส่วนทางไฟฟ้าระหว่างขดไพรมารี่และขดเซคั่นดารี่ด้วยวัสดุที่ใช้ทำเทปฉนวนอาจเป็นพวกไมลาร์ (Mylar ) หรือโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ที่มีความหนาอยู่ในช่วง 0.05-0.1 มิลลิเมตร การเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับการออกแบบและค่าความปลอดภัยที่ต้องการจากหม้อแปลงสวิตชิ่งเป็นหลัก
7. แกนเฟอร์ไรต์และการเลือกใช้
7.1 ลักษณะและขนาดมาตรฐานของแกนเฟอร์ไรต์
แกนเฟอร์ไรต์สำหรับหม้อแปลงสวิตชิ่งโดยทั่วไป จะถูกผลิตออกมาที่ขนาดและรูปทรงต่างๆ ตาม
มาตรฐานเดียวกัน เช่น แกนแบบ EI, EE, ETD หรือแกนแบบ POT เป็นต้น ปกติผู้ผลิตจะทำแกนเฟอร์ไรต์ออกมาในลักษณะของคู่ประกบ เพื่อสะดวกในการประกอบเข้ากับบอบบิ้น การประกอบแกนเฟอร์ไรต์บนบอบบิ้นจะทำให้ทางเดินฟลักซ์แม่เหล็กที่เกิดขึ้นในแกนเฟอร์ไรต์มีลักษณะเป็นวงบรรจบได้
8. ความสัมพันธ์ระหว่างขดไพรมารีและขดเซคั่นดารี่ของหม้อแปลงสวิตชิ่ง
หม้อแปลงสวิตชิ่งจะมีความสัมพันธ์ของขดไพรมารี่แลขดเซคั่นดารี่เป็นไปตามทฤษฎีหม้อแปลงทั่วไป
ผลของจำนวนรอบและค่าของแรงดันที่เกิดขึ้นในเป็นดังสมการดังนี้
เมื่อ Np คือ จำนวนรอบของขดไพรมารี่
Ns คือ จำนวนรอบของขดลวดขดเซคั่นดารี่
Vp คือ ค่าแรงดันขดไพรมารี่
Vs คือ ค่าแรงดันขดเซคั่นดารี่
Ip คือ ค่ากระแสที่ไหลผ่านขดไพรมารี่
Is คือ ค่ากระแสที่ไหนผ่านขดเซคั่นดารี่
9. การพันขดลวดทองแดงและการกำหนดขนาดของขดลวด
ปกติการพันขดลวดหม้อแปลงสวิตชิ่งจะใช้ลวดทองแดงอาบน้ำยา (enameled copper wire ) เป็นตัว
พัน (ตาราง จะแสดงขนาดและข้อมูลอื่นๆ ของเส้นลวดทองแดงอาบน้ำยาตามมาตรฐาน AWG ที่มีการผลิตจำหน่าย) ในขณะที่หม้อแปลงทำงาน สำหรับหม้อแปลงสวิตชิ่ง กระแสสลับที่ไหลผ่านขดลวดความถี่สูง ที่ความถี่สูงๆ ลวดทองแดงจะนำกระแสได้เพียงที่ผิว ซึ่งมีผลทำให้พื้นที่หน้าตัดในการนำกระแสของลวดทองแดงลดลง การสูญเสียในขดลวดจะมีมากขึ้น รวมทั้งการเรียงตัวซ้อนกันของขดลวดก็มีผลทำให้เกิดการสูญเสียขึ้นในขดลวดเช่นเดียวกัน การสูญเสียเหล่านี้จะทำให้ขดลวดร้อน ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ต้องการขณะที่หม้อแปลงทำงาน
รูปที่ 6 แสดงวงจรการทำงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น